บางครั้งเราอาจสงสัยว่า ชื่อแบรนด์ ที่เราคิดขึ้นเองนั้นเป็นชื่อที่ดีพอแล้วรึยัง? กลุ่มเป้าหมายจะเข้าใจไหม หรือบางครั้งชื่อที่ได้มาก็ไม่ค่อยยถูกใจเราเท่าไหร่
อันที่จริงแล้วการตั้ง ชื่อแบรนด์ ผสมผสานไปด้วยศาสตร์ของหลักการและเหตุผล และศิลป์ของความคิดสร้างสรรค์และความสวยงาม ดังนั้นเราจึงนำเสนออีกวิธีในการเลือกชื่อแบรนด์ที่เหมาะสมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มากกว่ากว่ามองถึงความชอบส่วนตัวของตัวเอง หรือ ใครคนหนึ่งในทีม
ซึ่งใน 4 Steps นี้จะเป็นการพูดถึงหลักการและเหตุผลเป็นหลัก เสมือนเป็นไกด์ไลน์ในการตั้งชื่อแบรนด์ ส่วน ไอเดียและ วิธีการตั้งชื่อแบรนด์ ในเชิงศิลป์ สามารถลองอ่านได้ที่นี่
โดยแบ่งง่ายๆเป็น 4 Steps ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของแบรนด์ของคุณ,การเลือกคุณลักษณะของแบรนด์ที่สอดคล้องกัน, การตั้งชื่อแบรนด์ และการเลือกชื่อที่ดีที่สุด
Step 1 : กำหนดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ แบรนด์ ของคุณ
“ การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ” ในการเริ่มทำธุรกิจ สิ่งที่คุณต้องเริ่มคิดก่อนตั้ง ชื่อแบรนด์ ก็ คือ การมองหาโอกาสทางธุรกิจ จุดแข็งของสินค้าและบริการเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือแม้แต่ความรู้ความเชี่ยวชาญของบริษัทคุณ ซึ่งสิ่งนี้เองจะเป็นตัวกำหนดทิศทางและคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า ดังนั้น ลองใช้เวลานึกถึงความมุ่งหวังของคุณที่จะมอบผลลัพธ์ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าว่าคืออะไร และลูกค้าควรจะรู้สึกอย่างไรเมื่อใช้บริการกับเรา เช่น
- สินค้าและบริการของคุณ กำลังแก้ปัญหาอะไรให้กับลูกค้า?
- คุณทำอะไรและทำอย่างไร เพื่อมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าที่ดีที่สุดของคุณ?
- คุณกำลังสร้างนวัตกรรมใหม่อะไร?
- คุณกำลังสร้างความสะดวกสบาย และ ความมั่นใจอย่างไรให้กับลูกค้า ด้วยวิธีการอะไร?
- หากคุณสามารถพูดได้แค่เพียงหนึ่งอย่างเกี่ยวกับสินค้าและบริการของคุณ คุณคิดว่าคืออะไร
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ “อะไรเป็นแก่นแท้” ในบริษัทของคุณ แน่นอนว่าคำถามนี้ตอบได้ไม่ง่าย แต่เมื่อได้มาแล้ว สิ่งนี้จะเปรียบเสมือนแสงไฟส่องนำทางให้กับการตั้งชื่อแบรนด์ของคุณ “แก่นแท้” ที่ดีจะต้องเป็นแก่นที่ถูกคัดสรรมาแล้วว่า
- สำคัญที่สุดกับบริษัทของเรา ( Important )
- แตกต่างไม่ซ้ำใคร ( Unique )
- สามารถทำให้คล้อยตามได้ ( Compelling )
ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้ คือ การเขียน Keyword / Adjective ( คำลักษณะนาม ) ออกมาให้ได้มากที่สุดในการทำ Brainstroming โดยสามารถทำร่วมกับพาร์ทเนอร์ หรือ ทีมงานที่มีความเข้าใจและเป้าหมายเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกผู้มีส่วนร่วมในการคิดชื่อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากว่า บางครั้งผู้เข้าประชุมแต่ละท่านเห็นภาพที่แตกต่างกันทำให้ทิศทางอาจสับสน
ทางที่ดีคือควรใช้เวลาสรุป Brand Direction ร่วมกันให้ชัดเจนก่อน แล้วจริงเริ่มทำการคิด ชื่อแบรนด์
Step 2 : กำหนดเกณฑ์ให้กับ แบรนด์ของคุณ
ให้เริ่มคิดจากส่วนประกอบที่ทำให้เกิดแบรนด์ของเรา ซึ่งสามารถเป็นการรวมกันของทั้งบริษัท, สินค้า และ บริการ นอกจากหา “ Ingredients ” ของบริษัทเราเองแล้ว ยังควรที่จะวิเคราห์ “ Ingredients ” ของคู่แข่งด้วยก็จะช่วยให้เราเห็นภาพของตัวเองชัดขึ้นว่าเราจะไปในทิศทางไหน เสมือนรู้เขารู้เรา
หลังจากเริ่มได้ลิสต์ของ “ Ingredients ” แล้ว ให้จัดอันดับของสิ่งที่เราอยากให้แบรนด์เราสื่อสารมากที่สุดเป็นดันดับ 1 ไล่ไปตามลำดับ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นไกด์ไลน์ในการช่วยเราเลือกชื่อแบรนด์ที่ตรงกับความต้องการของเรา Step ต่อไป
Step 3 : การ ตั้ง ชื่อแบรนด์
หลังจากได้วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของแบรนด์แล้ว (ข้อ1) และ เกณฑ์ในการเลือกชื่อแบรนด์ (ข้อ2) ก็จะทำให้ทิศทางในการตั้งชื่อแบรนด์ของเรามีหลักการและเหตุผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นใน Step ที่ 3 นี้จึงถึงเวลาของการตั้งชื่อจริงๆซักที ในขั้นตอนนี้จะเป็นการรวมตัวของศาสตร์และศิลป์มากที่สุด
โดยวิธีการตั้งชื่อสามารถเป็นการ Brainstroming กับคนในทีม หรือ ทำคนเดียวก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี คนที่เข้าร่วมขั้นตอนนี้ ต้องผ่านการเข้าใจใน ทั้ง 2 Step ที่ผ่านมาอย่างท้องแท้ โดยที่ทั้งทีมเห็นภาพปลายทางเดียวกัน
นอกจากการโยนไอเดียแล้ว ยังมี วิธีการตั้งชื่อแบรนด์ อีกหลายแบบ เพื่อเป็นทิศทางให้ลองคิดในมุมใหม่ๆดู อย่างที่บอก เรื่องของชื่อแบรนด์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
Step 4 : วิธีการเลือกชื่อที่ดีที่สุด
หลังจากที่เราได้ชื่อที่น่าสนใจมาจำนวนหนึ่งแล้ว ลองหันกลับไปมองชื่อทั้งหมด แล้วจัดหมวดหมู่ผู้เข้ารอบ ตาม ” Ingredient ” ใน Step ที่ 2 ดู จะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าใครได้ไปต่อบ้าง โดยเลือกผู้ผ่านเข้ารอบชิง 3 – 5 ชื่อ จากนั้นจึงนำมาพิจารณาต่อตามเกณฑ์เหล่านี้
- สั้นและกระชับ ง่ายสำหรับการใช้งาน
- อ่านออก และ สะกดง่าย
- สามารถจดชื่อโดเมน .com และ Social Media ได้
- มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- สื่อสารจุดแข็งชัดเจน และ ดูน่าเชื่อถือ (ในประเภทธุรกิจนั้นๆ)
- มีที่มาที่ไป และ เรื่องราวของแบรนด์
- ไม่ถัดต่อศาสนา หรือ ความเข้าใจของคน และ ประเทศนั้นๆ
- ไม่มีความหมายแฝง ในภาษาอื่นๆที่ทำให้เสื่อมเสีย (โดยเฉพาะกับแบรนด์ระดับ Global)
ในการ Reconfirm ว่าชื่อแบรนด์นี้ ปังชัวร์! ถ้าชื่อที่คัดมาไม่ผ่านเกณฑ์นี้ ลองกลับไปที่ Step 3 เพื่อหาไอเดียเพิ่มอีกครั้ง
หลังจากพิจารณาขั้นตอนนี้เพิ่มแล้ว ชื่อแบรนด์ ที่ได้มานี้ก็จะเป็นชื่อที่ตรงกับเป้าหมายของแบรนด์อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม แต่ละขั้นตอนต้องอาศัยเวลา และ ความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบของธุรกิจที่จะลงสนาม การวิเคราะห์ผู้เล่นในตลาด และการหาจุดยืนของแบรนด์ตัวเองให้ชัดเจน เพื่อที่จะมองหาโอกาสทางธุรกิจ และ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงจุด ดังนั้น จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย เพื่อสร้างรากฐานของแบรนด์ให้แข็งแรงตั้งแต่แรกเริ่ม
Imaged Credit : Kristian Egelund