10 วิธี ตั้ง ชื่อแบรนด์ อย่างไรให้เหมาะสมและยั่งยืน? How to brand naming

10 วิธี ตั้ง ชื่อแบรนด์ อย่างไรให้เหมาะสมและยั่งยืน? How to brand naming

ทุกวันนี้มีแบรนด์สินค้า และ บริการเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาทั้งขนาดเล็ก และ ใหญ่ แต่การหาชื่อที่ถูกใจ และ เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน อันที่จริงแล้วการตั้งชื่อแบรนด์ผสมผสานระหว่างไปศาสตร์และศิลป์ คือ ต้องใช้ทั้งหลักการ และ เหตุผล ไปพร้อมๆ กับ ความคิดสร้างสรรค์ และ ความสวยงาม ดังนั้นเราจึงนำเสนอไอเดียนการเริ่มต้นคิด ชื่อแบรนด์ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 

ตั้ง ชื่อแบรนด์
Photo Credit : Helena Hertz

1. Descriptive Name – ชื่อที่อธิบายตัวเอง

การตั้งชื่อที่อธิบายว่าเราทำอะไร  (What does your business/service do?) ชื่อเหล่านี้จะเป็นชื่อที่สื่อสารง่าย คนทั่วไปเห็นก็จะเดาออกเองได้เลยว่าบริษัทน่าจะทำเกี่ยวกับอะไร ข้อดีคือ ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายเยอะ เข้าใจง่าย แต่ความยากคือ ชื่อเหล่านี้ส่วนมากมักจะถูกคนเอาไปใช้แล้ว ทำให้เราต้องพลิกแพลงวิธีสะกดบ้าง หรือ การเรียงลำดับคำร่วมด้วย

ตัวอย่างเช่น

  • Southern Airline (Airline)
  • Biopharma (Medical Product)
  • Skinfood (Beauty)
  • Viu (Korean Movie Platform)

2. Invented Name – ชื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่

ชื่อที่เกิดจากการประดิษฐ์คำขึ้นมาใหม่เองนี้เป็นชื่อที่ไม่จำเป็นต้องมีความหมาย ดังนั้นชื่อแนวนี้จะมีข้อดีตรงที่จะไม่มีใครซ้ำแน่นอน แต่ข้อเสียคือเราต้องใช้งบเยอะในการสื่อสารกับลูกค้าหรือทำ Marketing ว่า แบรนด์ของเรา คืออะไรหรือขายสินค้าอะไร นอกจากนั้นวิธีการนี้ยังเหมาะกับแบรนด์ที่มีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายและกำลังเติบโตไปทุกทิศทุกทาง

ตัวอย่างเช่น

  • Xerox (เครื่องถ่ายเอกสาร)
  • Kodak (กล้องและฟิลม์)

3. Metaphorical Names – ชื่อเปรียบเปรย

“Picture is worth a thousand words” การเปรียบเปรยก็เช่นกัน การนำสิ่งที่เป็นที่รู้จักในระดับสากลมาตั้งเป็น ชื่อแบรนด์ จะทำให้คนทั่วไปสามารถเชื่อมโยง แบรนด์กับความหมายที่แฝงอยู่ได้ชัดเจนขึ้นตามคุณลักษณะของสิ่งนั้นๆ โดยประเภทของสิ่งรอบตัวที่คนนิยมนำมาตั้งชื่อสามารถมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ

History : เปรียบเปรยจากลักษณะของชื่อเมืองเก่า, ถนนที่เป็นจุดเริ่มต้น, ท่าเรือที่เจิรญรุ่งเรืองตั้งแต่ในอดีต

Goddess :  เปรียบเปรยจากความหมายของเทพ หรือ ตัวละครในนวนิยายชื่อดัง *การใช้ชื่อเทพกรีกในประเทศไทยกลายเป็นชื่อที่นิยมของอาบอบนวด)

Landscape / Geography : เปรียบเปรยด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์, ลักษณะของป่า, ความสงบของพื้นที่, ภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราจะมอบให้กับลูกค้า

Animals : เปรียบเปรยด้านพฤติกรรม, ลักษณะเด่นของสัตว์ชนิดนั้นๆ, ความหมายที่เป็นสากล

Activity : เปรียบเปรยจาก Action การกระทำ, เสียงที่ได้จากการทำกิจกรรมนั้นๆ

Objects : เปรียบเปรยจากคุณสมบัติของสิ่งของนั้นๆ, การนำสิ่งนั้นๆไปใช้

ตัวอย่างเช่น 

  • Amazon (แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่กว้างใหญ่ มีสินค้าหลากหลายมากมายให้เลือก)
  • Greyhound (รถบัสเดินทางไกลที่ถึงเร็ว)
  • Kayak (แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการท่องเที่ยวสำหรับคนที่ชอบกิจกรรม)
  • Jaguar (รถยนต์ที่มีความคล่องแคล่ว)

4. Descriptive Evocative – ชื่อที่ให้ความหมายและความรู้สึก

เป็นอีกแนวทางในการตั้งชื่อที่ใช้บางส่วนของ Core Business/Service มาเป็นแก่นในการเล่าเรื่องของแบรนด์เพื่อให้ถูกจดจำในประเภทธุรกิจที่ถูกต้องและเป็นที่ชื่อที่ยังสามารถบอกคุณลักษณะหรือบุคลิกภาพได้ (Sense of Personality) ซึ่งชื่อแนวนี้จะไม่ได้เน้นความโดดเด่นเป็นหลักแต่จะทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงรูปแบบธุรกิจ/บริการในขณะที่ได้ทำความรู้จักตัวตนและนิสัยใจคอของแบรนด์ด้วย

ตัวอย่างเช่น

  • PayPal
  • JetBlue
  • FoodPanda
  • Traveloka

5. Evocative Names – ชื่อที่สร้างความเชื่อ

การสร้างแบรนด์ ให้เป็น มากกว่าแบรนด์ แต่เป็นการวาดภาพของแบรนด์ให้ยิ่งใหญ่กว่าแค่การขายสินค้า หรือ บริการ ด้วยการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกร่วม อาจใช้ Insight ของกลุ่มเป้าหมายมาเป็นวิธีในการตั้งชื่อได้ เพื่อที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าเรากำลังคุยภาษาเดียวกันอยู่ หรือ แบรนด์เข้าใจปัญหาของลูกค้าเป็นอย่างดีและพร้อมที่จะช่วยแก้ วิธีการนี้หากแบรนด์สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจกลุ่มเป้าหมายได้ จะทำให้เกิดการบอกต่อคนใกล้ตัวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากลูกค้ามีทัศนคติและประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์

องค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Insight บางอย่างของกลุ่มเป้าหมาย เช่น

Feeling : ความรู้สึกที่มีต่อปัญหาหาที่แบรนด์สามารถช่วยแก้ให้ได้

Characteristics : ลักษณะนิสัยของคนแบบเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย (ให้ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน)

Moment : ช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายมองหาสินค้า/บริการของแบรนด์

Gender : บ่งบอกถึงเพศสภาพหรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

ตัวอย่างเช่น

  • Pampers (ผ้าอ้อมเด็ก)
  • Victoria’s Secret (ชุดชั้นในผู้หญิง)
  • ZARA (เสื้อผ้าผู้หญิง)

6. Descriptive Benefit – ชื่อแบรนด์ ที่ใช้จุดเด่นนำ

การนำจุดขายของแบรนด์มาตั้งเป็นชื่อ เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักและชัดเจนตั้งแต่แรกในการชื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น จุดที่ทำให้เราแตกต่างจากตลาดทั้ง Competitive Point และ Unique Selling Point มาผสมกับ Adjective/Verb เพื่อสร้างคำใหม่ที่บอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างเช่น

  • SnapChat
  • Grab
  • WeChat
  • FlowAccount

7. Descriptive Mashup – ชื่อที่นำมาผสมกันจนเกิดเป็นคำใหม่

ในภาษาไทยเราอาจจะรู้จักวิธีการนี้ว่าเป็นการ “สนธิ” ของคำคือการเอาคำ 2 คำที่มีความหมายในตัวมาผสมกันจนเกิดเป็นคำใหม่นั้นเองตัวอย่างเช่น การนำ Descriptive Words  + Adjectives มาผสมกัน โดยวิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมกับแบรนด์ทางเทคโนโลยีที่มี Core Value ที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือมีเป้าหมายเพื่ออะไร

ตัวอย่างเช่น

  • Instagram = Instant camera + Telegram
  • Pinterest = Pin + Interest
  • Netflix = Net (Internet) + Flix (Flicks – a synonym for movie)

8. Strategic Positioning Names – ชื่อที่บอกสถานะ/ตำแหน่ง

การใช้ชื่อแบรนด์ที่ประกาศความเป็นผู้นำของตัวเองในประเภทสินค้าก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ ไม่ว่าจะเป็น ราชาแห่ง…, ผู้นำในวงการ…., ที่สุดของ…

ตัวอย่างเช่น

  • BurgerKing (ราชาแห่งเบอร์เกอร์)
  • BestBuy (ดีที่สุดในการซื้อ)
  • CapitialOne (ที่หนึ่งด้านการเงิน)

9. Disruptive Brand Names – ชื่อที่สร้างนิยามใหม่

การใช้วิธีนี้ในการตั้งชื่อแบรนด์จะเหมาะสำหรับการเป็นคนแรกในวงการนั้น หรือต้องการป่าวประกาศศักดาแบรนด์อย่างชัดเจน ซึ่งความหมายของแบรนด์จะมีความหมายแตกต่างจากความหมายจริงอย่างสิ้นเชิง เหมือนการ Disrupt ความเข้าใจนั้นๆ และให้ความหมายใหม่ในแบบฉบับของตัวเอง

ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดก็คือบริษัท Apple ถ้าจะพยายามเปรียบว่าแบรนด์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เหมือนกับผลไม้แอปเปิ้ลก็ดูจะฝืนๆเกินไป และแปลไม่ถูกว่าจะสื่ออะไร แต่สิ่งที่แบรนด์ Apple ตั้งใจจะบอกคือบริษัทของเราไม่ธรรมดานะ เราทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำกันซึ่งการเลือกใช้วิธีนี้ในการตั้งชื่อแบรนด์สินค้าและบริการของคุณจะต้องแตกต่างและโดดเด่นให้สมกับการตั้งชื่อเพื่อเรียกร้องความสนใจด้วย เพราะเชื่อว่าลูกค้าจะต้องตั้งความคาดหวังในชื่อแบรนด์ลักษณะนี้ค่อนข้างสูง

ตัวอย่างเช่น 

  • Apple (อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เรียบง่ายแต่ล้ำสมัย)
  • Yahoo! (Search engine)
  • Slack (โปรแกรมสื่อสารที่ใช้ในการทำงานร่วมกันกับทีม)
  • Uber (แอปที่ใช้เรียกรถแท็กซี่)

10. Evergreen/Positive Name – ชื่อที่ยั่งยืน

การเลือก ตั้งชื่อ ด้วยวิธีนี้จะต้องมั่นใจว่าชื่อจะต้องมี Value ของแบรนด์อยู่ในนั้นด้วย ข้อดีคือชื่อแนวนี้จะไม่วิ่งตามเทรนด์และอยู่ได้ในระยะยาว เหมาะกับการตั้งชื่อสำหรับแบรนด์ที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะแตกไลน์ออกไปอย่างไรบ้างขอ แค่ให้ชื่อฟังดูมีความหมายที่ดีแบบองค์รวมไว้ก่อน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับแบบ Disruptive ที่ประกาศกร้าวศักดาของแบรนด์อย่างชัดเจน วิธีนี้จะเห็นได้ว่าชื่อแบรนด์จะไม่ได้โดดเด่นเท่าไหร่

ตัวอย่างเช่น

  • True
  • HealthLand
  • Goldenland

ข้อควรระวัง ในการตั้ง ชื่อแบรนด์

การตั้งชื่อ ให้โดดเด่นและแตกต่างเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ประเภทของธุรกิจแต่ละแบบก็มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น แบรนด์ที่เกี่ยวกับการเงิน จะต้องดูมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้ดีว่าวิธีตั้งชื่อแบบไหนเหมาะสมบ้าง ในขณะที่ธุรกิจด้านเทคโนโลยี และ ออนไลน์ สามารถพิจารณาชื่อที่โลดโผนกว่า แต่สิ่งสำคัญไม่แต่กันคือ การเลือกชื่อที่สามารถจดโดเมน .com ได้ และ จดจำได้ง่าย เป็นต้น

สามารถอ่านเรื่อง วิธีเลือกชื่อแบรนด์ที่เหมาะสม How to consider the right Brand Name ต่อได้ที่


เพิ่มเติมว่า ชื่อแบรนด์ ที่ได้มานั้น จะเป็นชื่อที่เหมาะสม หรือ ตรงกับเป้าหมายของแบรนด์มากน้อยแค่ไหน ต้องอาศัยเวลาและความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบของธุรกิจที่จะลงสนาม (Market Analysis) การวิเคราะห์ผู้เล่นในตลาด (Competitor) และการหาจุดยืนของแบรนด์ตัวเองให้ชัดเจนและแตกต่าง (Brand USP) เพื่อที่จะมองหาโอกาสทางธุรกิจ และ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างตรงจุด จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยเพื่อสร้างรากฐานของแบรนด์ให้แข็งแรงตั้งแต่แรกเริ่ม

Feature Image Credit : Austin Distel

Related Stories