Key Focus : Business Model, Marketing
“สาธุ” (The Believers) ซีรีส์มาแรงทาง NETFLIX กำลังเป็นกระแสและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งความสนุก ชวนติดตาม และท้าทายความเชื่อความศรัทธาของศาสนา ที่ซีรีส์เรื่องนี้ได้สอดแทรกประเด็นให้เราได้ตั้งคำถามตลอดทั้งเรื่อง
นอกจากประเด็นเรื่องความศรัทธาของชาวพุทธที่มีมาช้านานกว่า 2,000 ปี แล้ว อีกประเด็นที่อยากพูดถึงก็คือ การทำ Marketing ของตัวละครในการทำให้วัดเล็กๆ ให้กลายเป็นที่รู้จัก และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำนั้นเขาทำ Marketing อะไรบ้าง?
“สาธุ” เป็นเรื่องราวของเพื่อนสนิท 3 คน ที่ล้มเหลวจากการทำธุรกิจ NFT จนทำให้เป็นหนี้ก้อนโต ได้ปิ๊งไอเดียทำธุรกิจใหม่ เพื่อที่จะปลดหนี้ให้หมด โดยธุรกิจที่ทั้่ง 3 คนสนใจก็คือ การสร้างวัดให้มีชื่อเสียง หวังกอบโกยเงินทำบุญจากความศรัทธาของชาวพุทธ ที่ทั้ง 3 เชื่อว่ามีมูลค่ามหาศาล และน่าจะช่วยชำระหนี้ของตนให้หมดได้ภายในเวลาอันสั้น
ซีรีส์ได้พาเรารู้จักกับการทำ Marketing ไปพร้อมๆกับตัวละครทั้ง 3 คน ตลอดทั้งเรื่องเช่นกัน เราขอเล่าไปตาม Timeline Steps ที่เห็นชัดๆ ในซีรีส์ ดังนี้
1. ก่อนเริ่มทำธุรกิจ ต้อง Research หาข้อมูล และความเป็นไปได้ของเป้าหมายท่ีตั้งไว้ และเพื่อหา Positioning / Direction ของตัวเอง
ตัวละครได้ Inspire ธุรกิจ มาจากคนใกล้ตัวที่ชอบเข้าวัดทำบุญ และบังเอิญเห็นยอดบริจาคที่มูลค่ากว่า 20 ล้าน ซึ่งเป็นยอดเป้าหมายที่เขามองหา เพื่อใช้หนี้ก้อนโตของเขาได้
แต่หลังจากนั้นไม่ใช่ว่าตัวละครจะบุกตลาด ตัดสินใจทำเลย แต่เขาได้มีการหาข้อมูลรายได้ (Revenue) มูลค่าตลาด (Market Value) และคาดการณ์ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) จากธุรกิจนี้ จนมั่นใจพอที่จะตัดสินใจได้ว่าธุรกิจนี้สามารถพาเขาไปถึงเป้าหมายได้
เริ่มตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจ ทั้ง 3 คนก็เริ่มจากการ Research หาข้อมูลอีกว่าตลาดนี้มีคู่แข่งแบ่งเป็นระดับไหนบ้าง (Business Scale) ใหญ่ หรือ เล็ก, ที่ตั้ง (Location) ควรจะเป็นที่ไหน, ดูคู่แข่ง (Competitor)ในพื้นที่ต่างๆ
เมื่อได้ข้อมูลทุกอย่าง (Company / Competitor / Consumer) แล้ว จึงได้หาโอกาสของตัวเองว่า Positioning / Direction วัดที่ต้องการของตัวเองนั้นจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ Positioning / Direction ของตัวเองที่ชัดเจน
2. สร้างแผนธุรกิจ (Business Model) ให้ชัดเจน
ขั้นตอนถัดไปที่ทั้ง 3 คนทำ คือ การสร้างรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ ก่อนเริ่มวาง Marketing เช่น การหาพาร์ทเนอร์หรือพันธมิตร (Key Partners) ในที่นี้คือ เจ้าอาวาส มัคนายก เพื่อเจรจาต่อรองผลประโยชน์ร่วมกันในแบบ Win-Win Situation
หากิจกรรมหลัก (Key Activities) / ทรัพยากรหลัก (Key Resources) และกำหนดว่าภายในวัดมีช่องทางธุรกิจ (Renenue Stream) อะไรเกิดขึ้นบ้าง รวมไปถึงการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย (Customer Segments) และเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ว่าต้องการอะไร (Customer Relationship)
3. วางโครงสร้างธุรกิจ (Brand Operation)
ถึงเวลาลงมือทำ (Execution) ตัวละครเริ่มจากการบูรณะวัดปรับโฉมใหม่ จัดระเบียบวัดให้เป็นระบบทั้งด้านบัญชี แบ่งหน้าที่คนรับผิดชอบงาน รวมไปถึงจัดวางพื้นที่วัดใหม่ และมีรายละเอียดเล็กๆ ที่ตัวละครเถียงกันว่าตู้บริจาคควรจะวางไว้ตรงไหนเพื่อให้คนทำบุญได้ง่ายๆ และมี QR Code ให้โอนเงินได้สะดวกโดยเน้นหลัก User Experience รวมไปถึงการแปะชื่อบริษัทที่มีชื่อเสียง ว่าเป็นคนบริจาคสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในวัด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับวัดอีกด้วย (Gain Trust & Creditbility)
4. เริ่มทำการ Promote สร้าง Brand Awareness และ Engagement ในพื้นที่ก่อน
ต่อให้วัดจะได้รับการบูรณะอย่างดีแล้ว ทั้ง 3 ก็เผชิญกับผลลัพท์ท่ีไม่ได้ดีนัก เพราะยังไม่มีคนมาเข้าวัดตามที่หวังไว้ ทำให้ต้องมานั่งวิเคราะห์ปัญหา เพื่อพัฒนาต่อ มัคนายกได้แนะนำว่าวันที่คนจะมาวัดเยอะที่สุดก็คือวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ ที่กำลังจะมาถึงนี้ เมื่อเห็นโอกาส ทั้ง 3 ก็รีบคว้าไว้ทันที จัดแจงทำ Event งานวัด ชวนแม่ค้าในพื้นที่มาขายของในวัด สร้างกิจกรรมต่างๆ ให้หลากหลาย เพื่อดึงดูดคนเข้ามาที่วัด และเป็นไปตามคาด งานนี้ได้สร้าง Awareness ให้กับวัดได้ดี เพราะได้ใช้โอกาสของเทศกาลที่ถูกต้องตามตัวตนของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา
5. หา Brand Ambassador ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และ Direction Marketing ของแบรนด์
เมื่อธุรกิจดำเนินไป อุปสรรคย่อมตามมาเสมอ อีก Tactic การตลาดนึงที่ตัวละครใช้เพื่อขยาย Awareness ของแบรนด์ก็คือ การใช้ Brand Ambassador แต่การหา Brand Ambassador ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้คนดังที่ไหนก็ได้ ต้องเลือกคนที่มีบุคลิก ทัศนคติ ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และ Direction ของแบรนด์เช่นกัน โดยในซีรีส์ ตัวละครตั้งใจจะหาพระที่สามารถนำเสนอภาพลักษณ์ของวัด เขาระบุกันเลยว่าต้องเป็นพระที่มีอายุไม่เยอะ เพื่อเข้าถึงคนรุ่นใหม่ และต้องเป็นที่รู้จัก มีความน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใสศรัทธา เทศน์แบบเข้าถึงได้ เพราะจะต้องผลิต Live Content / Podcast ในการโปรโมตด้วย
มีเกร็ดเล็กๆ ในการตัดสินใจเลือกก็คือ ตัวละครได้มีการถาม Feedback จากผู้ฟังพระเทศน์ว่าชอบ/ไม่ชอบ เพราะอะไร เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกให้แม่นยำขึ้น ไม่ใช่อาศัยแค่ความคิดเห็นของตนเองฝ่ายเดียว
6. ทำ Campaign Collaboration กับวัดอื่น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเกาะกระแสให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
การทำแคมเปญ เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการตลาดที่ซีรีส์ได้นำเสนอออกมาเบาๆ โดยขณะที่ตัวละครไปขอพระ (Brand Ambassador) ให้มาช่วยที่วัดของตน ได้มีข้อเสนอในการทำศาลาปฏิบัติธรรมให้แก่วัดที่ขอความช่วยเหลือเป็นการตอบแทน (ซึ่งเป็นวัดป่ามีที่ชื่อเสียงอยู่แล้ว) โดยการทำศาลาจะมีการออกแบบให้เชื่อมโยงกันระหว่าง 2 วัด สร้าง Story โปรโมตเสมือนเป็นศาลาแฝดกัน
ไอเดียการออกแบบนี้เป็นเหมือนการทำ Collaboration Marketing ที่จับมือร่วมกันระหว่างแบรนด์ 2 แบรนด์ และเพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ หรือเพื่อดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเดิมได้เช่นกัน
7. ขยับตัวโดยการ ขยาย Marketing แตกไลน์ Product
อุปสรรคของธุรกิจยังคงขยันเข้ามาให้ตัวละครต้องหาทางออกเพื่อให้วัดไปรอดต่อได้ และการขยับตัวต่อไปที่จะทำก็คือ การแตกไลน์สินค้า ทำวัตถุมงคล ซึ่งส่ิงนี้ตอบโจทย์ธุรกิจมาก เพราะไม่ต้องรอให้คนมาเข้ามาทำบุญ บริจาคที่วัดอย่างเดียวแล้ว แต่ยังสามารถขายออนไลน์ได้ด้วย เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจอีกช่องทางหนึ่ง และขยายกลุ่มเป้าหมายได้กว้างกว่ามาก ซึ่งตัวละครก็มีการกล่าวถึงการยิงโฆษณาออนไลน์ด้วยเช่นกัน
8. หา Influencer (ผู้ใช้จริง Review) เพื่อให้เกิดการพูดปากต่อปาก (Word-of-Mouth)
แต่การทำวัตถุมงคลไม่ได้รับความนิยมนัก เนื่องจากการจะขายของ หากไม่ได้ดึงจุดเด่น (USP) มาสื่อสารได้มากพอ ก็จะไม่มีจุดสนใจที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อ ตัวละครจึงต้องสร้างเรื่องราวว่าวัตถุมงคลนี้ขลัง ปกป้องให้รอดพ้นอันตรายได้ โดยพิสูจน์ได้จากประสบการณ์จริงของผู้ใช้ (Review) ผ่าน TV ซึ่งเป็นช่องทางสื่อมวลชน (Mass Media) ที่เข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว และเกิด Impact ต่อสินค้า ทำให้เกิดความสนใจพูดกันปากต่อปากในวงกว้าง หรือที่ Marketing เรียกกันว่า Word-of-Mouth
นอกจากนั้นตัวละครยังได้มีการให้ดาราคนดัง ได้มาช่วยโปรโมตวัดและวัตถุมงคล ยิ่งส่งเสริมให้วัดเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นไปอีก
9. สร้างความต้องการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ( Limited Edition Marketing )
เมื่อวัตถุมงคลได้รับความต้องการอย่างล้นหลาม อีกเทคนิคที่ตัวละครใช้ในการคว้าโอกาสเพิ่มมูลค่าสินค้า คือกลยุทธ์การทำการตลาดด้วย Limited Editionโดยผลิตวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่น และทำให้วัตถุมงคล lot แรกที่ผลิตให้เป็นรุ่น Limited ที่มีจำนวนจำกัด หายาก ราคาสูง เพราะอะไรที่ได้มายากๆ จะทำให้คนเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น และกลับกลายเป็นยิ่งกระตุ้นให้คนอยากซื้อกันมากกว่าเดิม
และนี่ก็เป็นมุมมองการทำ Marketing ที่ได้จากซีรีส์ “สาธุ” ไม่ว่าสุดท้ายพวกเขาทั้ง 3 จะสร้างธุรกิจได้สำเร็จถึงเป้าหมายหรือไม่ (ต้องติดตามกันเอง) ทั้งนี้ทั้งนั้นในโลกแห่งความจริง ต่อให้เรามีธุรกิจที่ดี มีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถสำเร็จได้ หากไม่มีการทำการตลาดที่ดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การตลาดมีการแข่งขันกันสูงมาก อีกทั้งเทรนด์และเทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงกันอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับปรุง และพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดกันอยู่ตลอดเวลา
การมีคู่คิดแบบ Strategic Partner หรือ Problem Solver Agency จะสามารถช่วยแบรนด์แก้ปัญหาในมุมต่างๆ ได้ดี ทำให้แบรนด์ก้าวทันตามยุคสมัย และก้าวข้าวผ่านอุปสรรค์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
____________
Reference :
– https://www.forbes.com/advisor/business/what-is-marketing/
– https://www.coursera.org/articles/marketing-is
– https://medium.com/seed-digital/how-to-business-model-canvas-explained-ad3676b6fe4a
_____________
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติม :
Personal Branding : เมื่อคนไม่เชื่อคำโฆษณา แต่สนใจว่า “ใครพูด”
ชีวิตหลังโควิดทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างไร และ จะเกิดแนวทางอย่างไรในภาคธุรกิจ?
10 วิธีตั้งชื่อแบรนด์อย่างไรให้เหมาะสมและยั่งยืน?
4 Steps — เลือกชื่อแบรนด์ที่เหมาะสม